Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Archive for the ‘My Books Review’ Category

เลือกบทความนี้ให้อยู่ในหัวข้อ My Book Review แต่จริงๆ ยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้หรอก
ด้วยจรรยาบรรณของเจ๊บรรณฯ จึงไม่บังอาจวิพากษ์เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ได้

แต่อ่านรายละเอียดคร่าวๆ ที่ "ทราย เจริญปุระ" แนะนำไว้ในมติชนสุดสัปดาห์
หน้าปก "ไว้อาลัยพญาอินทรีย์ แห่งสวนทูนอิน" โปรดติดตามหาอ่านรายละเอียดเอง

แต่จะมีใครซักกี่คนในโลกใบนี้ที่อ่านเนื้อหาของสารานุกรมบริแทนิกา 32 เล่มนี้จบ
อาจจะมีหลายคนแต่ไม่คิดจะแสดงตัว…หรืออาจจะมีแค่ตาลุง เอ เจ คนนี้แหละคนเดียวในโลก!!!

ส่วนฉันขอสารภาพแค่ว่า…ฉันได้อ่านสันของสารานุกรมบริแทนิกาครบทุกเล่มแล้วนะ
ดูน่าภาคภูมิใจบ้างไหม…เพราะไม่ได้ทำให้ฉลาดขึ้นมาซักนิดเลย นอกจากรู้แค่ว่ามันมี 32 เล่ม!!!

หลังจากเรียนจบและเอาเนื้อหาในตำราถวายพานคืนให้ครูอาจารย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แถมไฟล์วิชาเรียนยังถูกไวรัสกลืนกินชนิดกู้คืนไม่ได้…โชคดีที่บางไฟล์เคยส่งให้เพื่อนๆ ไว้

เพิ่งตระหนักรู้ถึง Knowledge Sharing in power เพราะสุดท้ายฉันต้องไปขอไฟล์วิชาการเหล่านั้น
กลับคืนมาให้ตัวเอง…เพราะเจ้าไวรัสได้กินความเป็นวิชาการของฉันไปหมดสิ้นแล้ว

ยืมหนังสือ "หนุ่มเมืองจันท์" มาหลายเล่มจากห้องสมุดแพทย์ ได้มีโอกาสอ่านแค่วันแรก
สุดท้ายก็ทิ้งกองๆ ไว้ โดยอ้างเหตุผลว่า ฉันเคยอ่านมันมาเกือบทุกเรื่องแล้วในมติชนสุดสัปดาห์

แต่จริงๆ แล้วก็คือ ไม่มีเวลาจะอ่านนั่นแหละ ขนาดหนังสือของพี่จิก ประภาส ฮีโร่คนโปรดของฉัน
บางเล่มยังใหม่มากๆ แทบไม่มีรอยเปิดอ่าน ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ ฉันเคยอ่านบทความก่อนรวมเล่มแล้ว

วันนี้มีความตั้งใจว่าจะ review paper เกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทำ แต่ด้วยความขี้เกียจ
และที่สำคัญมันเป็นภาษายาขมที่ฉันไม่ชอบ แม้จะมีพระเจ้า google ช่วยแปลบางประโยคให้

ฉันยังมีข้ออ้างในใจว่า ถ้า review แล้วอาจารย์ไม่เห็นด้วย ไม่ต้องเสียเวลาแย่หรือนี่
ย้อนกลับไปดูลุง เอ เจ ที่อ่านสารานุกรม 32 เล่ม เขายังไม่คิดว่าเป็นการเสียเวลาเลยซักนิด
ครูอาจารย์ถึงได้สอนไว้เสมอว่า "ยิ่งอ่านยิ่งรู้" ไม่มีใครที่อ่านแล้วโง่กว่าเดิม (เอ๊ะ..หรือว่ายกเว้นฉัน!!!)

"The Know – It – All : ปฏิบัติการล่าไอคิว"
เขียนโดย เอ. เจ. เจคอบส์
แปลโดย วไลลักษณ์ อุณจักร
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 โดยสำนักพิมพ์มติชน
ที่มาของภาพประกอบใน blog นี้จาก
www.se-ed.com

Read Full Post »

 

หนังสือ "ตด" แต่งโดย ชินตะ โช ผู้แปล พรอนงค์ นิยมค้า

หนังสือเรื่อง "ตด" ได้รับการเลือกสรรจากสมาคมห้องสมุดประเทศญี่ปุ่น

และได้รับคำนิยมจากคณะกรรมการสวัสดิการเด็กกลาง ประเทศญี่ปุ่น

ได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ภาษาสวีเดน ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ

เป็นหนังสือที่น่ารักมากๆ เด็กๆ ชอบอ่าน และเป็นหนังสือที่เด็กอนุบาล PRC ต้องอ่านกันทุกคน

ผู้ใหญ่อย่างเรา ลองมาท่อง "สารานุกรมเสียงตด" ดูนะ

แล้วจะรู้ว่า แค่ "ตด" ก็ไม่ชื่อเรื่องธรรมดาๆ อีกต่อไป

ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปู๊ด … ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ป้าด

ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปู๊ด … ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปุ๋ง

ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปุ๊ด … ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปุด  ปู๋

ปุง  ปุ่ง  ปุ้ง  ปุ๊ง  ปุ๋ง … ปุง  ปุ่ง  ปุ้ง  ปุ๊ง  ปู๋

ปู๊ด  ปุด  ปู๊ด  ปุด ปุ๊ด … ปุ๊ด  ปุด  ปู๊ด  ปุด  ปุ๋ง

ปู้ด  ป้าด  ปู๋  ปึ๋ง  ปิ๊ด … ปี๋  ปิ๊ด  ปิ๊ด  ปิ๊ด  ปิ๊ด

บุ๋ง  บุ๋ง   บุ๋ง   บุ๋ง  ปู้ด … แป๊ด  แป๋  แพรด  ปู๋  ปุ๋ง

ปิ๊ด  ปุ๋ง  ปู๋  ปิ๊ด  ปู้ด  ป้าด …ปิ๊  แป๋  แป้ด  ปุ๋ง

ปี๋  ปิ๊ด  ปิ๊ด  ปิ๊ด แป๊ด ปุ๋ง  ปุ๋ง  ปุ๋ง  ป้าด

แปร๊ด  ปุ๋ง  ปึ๋ง  ปึ๋ง  ปึ๋ง   ปึ๋ง  ปึ๋ง  ปึ๋ง ปึ๋ง ปิ๊ด

ปี๋  ปุ๋ง แป๋ แป๊ด แพรด แพรด แพรด แพรด ฟี้…..

Read Full Post »

 
          ข้อมูลทางบรรณานุกรม :
 

          วิชุลดา นิลม่วง.  2548.  ปั้นดิน กินข้าว ที่บ้าน แม่ปั้นดิน พ่อทำสวน.  กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. 

          พ่อชวนปลูก แม่ชวนปั้น ลูกชวนปรุง หอมกรุ่นกลิ่นอาหาร ผสานกลิ่นไอดิน สัมผัสกลิ่นไอรัก

          เป็นประโยคที่รวมนิยามของหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างครบถ้วนเลยทีเดียว ปั้นดิน กินข้าวฯ
          เป็นหนังสือแนะนำการปรุงอาหาร ที่ไม่เพียงแต่ปรุงแต่งรสชาติเท่านั้น แต่ยังช่วยปรุงรสความรู้สึก

          ของการรับประทานในแต่ละมื้อได้เป็นอย่างดี ด้วยเรื่องราวของบรรยากาศ การดำเนินชีวิตและผู้คน
          กับเรื่องราวความประทับใจของผู้ไปเยือนโฮมสเตย์ที่บ้าน
แม่ปั้นดิน พ่อทำสวน

 

          ผู้เขียนได้รวบรวมสูตรอาหารที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่แวะเวียนมาพักที่บ้านแม่ปั้นดิน พ่อทำสวน

          รับประทานกันเป็นประจำและรสชาติอร่อย มาเขียนไว้ในหนังสือ เพื่อถ่ายทอดความประทับใจ

          และสูตรอาหาร โดยใช้วัตถุดิบง่ายๆ เช่น พืชผัก ผลไม้ ดอกไม้ในบ้าน จึงเป็นคู่มือทำอาหารที่มีชีวิตชีวา

          อ่านสนุก ทำเองได้ง่ายๆ เป็นการปรุงแต่งรสชาติอาหารด้วยเครื่องปรุงพร้อมกับการปรุงแต่งชีวิต

          ให้รื่นรมย์ไปกับโลกใบนี้

 

          

          หมายเหตุ หากใครสนใจจะไปพักโฮมสเตย์ บ้านแม่ปั้นดิน พ่อทำสวน สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่

        http://www.maepundin.com/ รับรองความประทับใจและอาหารอร่อยๆ 
        จากฝีมือคุณย่าเฉลียว และแม่อั๋นจ้า

Read Full Post »

 
          ข้อมูลทางบรรณานุกรม :

          มูลนิธิโครงการหลวง.  2547.  ดอยคำ ของว่าง เครื่องดื่ม ดอกไม้.  กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการหลวง.

         

          ดอยคำ ของว่าง เครื่องดื่ม ดอกไม้ จัดทำขึ้นโดยมูลนิธิโครงการหลวง
          ถือเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าและงดงามเป็นอย่างมาก และเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง
          ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ
          ให้เชิญพระกระยาหารว่างมาปรากฎในหนังสือเล่มนี้ด้วย

          

          สำหรับรายละเอียดของพระกระยาหารว่างแต่ละชนิด จะบอกถึงส่วนผสมและวิธีทำไว้อย่างละเอียด

          ซึ่งมีทั้งสาคูไส้ปลา พัพไส้ปลาทูน่าลูกเกด ข้าวเม่าทอด ฮะเก๋า และขนมถ้วยจีน
          ในส่วนของการแนะนำเมนูของว่างจากบุคคลสำคัญต่างๆ เช่น แป้งสิบตำรับวังบ้านหม้อ
          โดย ม.ล. รจนาธร ณ สงขลา ทาร์ตสตรอเบอร์รี่ ของท่านผู้หญิงดัชรีรัช รัชนี 
          ขนมปังซูกินี ของ ม.ล. ศิริเฉลิม สวัสดิวัฒน์ หรือคุณหมึกแดง เป็นต้น

          สำหรับเครื่องดื่ม จะเป็นการแนะนำการดื่มกาแฟให้อร่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกาแฟอราบิก้าดอยคำ
          ซึ่งเป็นกาแฟคุณภาพดี มีกลิ่นหอม ให้รสชาติที่ดี และยังมีชาเพื่อสุขภาพ เช่น ชาสมุนไพรเจียวกู้หลาน
          ชาสมุนไพรคาโมมายล์ ชาสมุนไพรมินต์ เป็นต้น

 

          ในหนังสือยังมีเรื่องราวของการจัดดอกไม้ของโครงการหล่วงอ่างขาง และร้านดอกไม้ต่างๆ 
          ที่ร่วมแสดงฝีมือการจัดดอกไม้อย่างงดงามและสร้างสรรค์ ปิดท้ายเล่มด้วยภาพดอกไม้สวยๆ
          ที่ปลูกบนดอยอ่างขางและดอยอินทนนท์ ที่อวดโฉมชูช่อหลากหลายสีสันตระการตา

 

Read Full Post »

 

            ข้อมูลทางบรรณานุกรม :

 

            วนิษา เรซ.  2550.  อัจฉริยะสร้างได้.  ปทุมธานี: อัจฉริยะสร้างได้.


                    ดอกเตอร์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ศาสตราจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
            ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญา กล่าวว่า มนุษย์เรามีอัจฉริยะภาพอย่างน้อย 8 ด้าน
            และในคนหนึ่งคนก็มีครบ 8 ด้าน เพียงแต่ว่าจะมีบางด้านที่เด่นกว่าด้านอื่น
            อัจฉริยะภาพทั้ง 8 ด้านของคนเราประกอบด้วย

  1)      อัจฉริยะภาพด้านภาษาและการสื่อสาร

  2)      อัจฉริยะภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

  3)      อัจฉริยะภาพด้านมิติสัมพันธ์และการจินตภาพ

  4)      อัจฉริยะภาพด้านตรรรกะและคณิตศาสตร์

  5)      อัจฉริยะภาพด้านการเข้าใจตนเอง

  6)      อัจฉริยะภาพด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น

  7)      อัจฉริยะภาพด้านการเข้าใจธรรมชาติ

  8)      อัจฉริยะภาพด้านดนตรีและจังหวะ

 

        ครูหนูดี หรือวนิษา เรซ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยะภาพ

            เขียนหนังสืออัจฉริยะสร้างได้ เพื่อบอกเล่าเคล็ดลับการพัฒนาอัจฉริยะภาพทั้ง 8 ด้าน

            ที่คนธรรมดาๆ ก็สามารถที่จะนำไปใช้เพื่อฝึกฝนและสร้างความเป็นอัจฉริยะให้กับตนเองได้

 

           
                      สำหรับหนังสือเล่มนี้จะไม่ขอแนะนำมาก เพียงแต่เอามาคั่นเวลา
            ขณะที่เขียนเรื่องราวอะไรไม่ค่อยออก ขอบคุณเพื่อนโจ๊กสำหรับหนังสือที่ให้ยืม
            เมื่อวานก็มีคนเอามาให้อีก 1 เล่ม (แต่หน้าปกสีน้ำตาล)
            รู้สึกว่าจะมีผู้หวังดีและประสงค์ดี อยากให้ฉันปั้นอัจฉริยะใกล้ตัวอยู่หลายคน
            โปรดติดตามกันต่อๆ ไป ว่าฉันจะสร้างอัจฉริยะได้หรือไม่
            และโปรดอย่าเพิ่งมั่นใจ เพราะมีแต่คนทักว่า ลูกแกอัจฉริยะแกมโกงอ่ะ หุหุ

Read Full Post »

         

          การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ
          ข้อมูลทางบรรณานุกรม : 
          ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ.  2548.  การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ.  กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

                 การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดพื้นฐานสำหรับการจัดการความรู้
          ไว้อย่างครบถ้วน เหมาะสำหรับผู้บริหารงานในองค์กรที่มุ่งเน้น
การจัดการความรู้
รวมถึงนักศึกษา
          ในระดับอุดมศึกษา ที่สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี 

                  สาระสำคัญในหนังสือประกอบไปด้วย เนื้อหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ความรู้ และการจัดการความรู้ 
          การทำความเข้าใจกับการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ ระบบการจัดการความรู้ 
          การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการความรู้กับองค์กรการเรียนรู้ ทุนทางปัญญา (
Intellectual Capital)
 
          การพัฒนาดัชนีวัดทุนทางปัญญา เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ และกรณีศึกษาองค์กร
          ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการความรู้ 

          ปล. ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://bookstore.manager.co.th

Read Full Post »

         
          การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ
          ข้อมูลทางบรรณานุกรม : 
         
บดินทร์ วิจารณ์.  2547.  การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท. 

                   ในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Based Economy) ทุกองค์กร
          ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และการแข่งขันที่รุนแรง หนทางสำหรับการอยู่รอดและรุ่งเรือง
          จะอยู่ที่การจัดการความรู้ (
Knowledge Management – KM)
เป็นสำคัญ ในหนังสือ
         
การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ
จะมีสาระที่น่าสนใจในหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่องทำไมจึงต้อง
          จัดการองค์ความรู้ในองค์กร การเรียนรู้ขององค์กร และการเรียนรู้ให้เร็วกว่าคู่แข่ง
          ถือเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ จะเริ่มต้นอย่างไรดี กับการจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ
          แนวความคิดการจัดการองค์ความรู้และการนำมาสู่การปฏิบัติ การลงมือปฏิบัติกับโครงการ
         
Knowledge Management และการสร้างสรรค์ร่วมกันสู่การจัดการความรู้ (KM – Enabler) 

          ปล. ภาพประกอบจาก http://bookstore.manager.co.th

Read Full Post »

         
          องค์กรชั้นยอด การจัดการคน+ความรู้
         
ข้อมูลทางบรรณานุกรม :
         
Morten T. Hansen, Nitin Nohria, Thomas Tierney, Dorothy Leonard, Walter Swap
                   and Bolko von Oetinger.  2548. 
องค์กรชั้นยอด การจัดการคน + ความรู้.  
                   กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

                   องค์กรยุคใหม่จะยอดเยี่ยมและยั่งยืนได้จะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ใน
การจัดการความรู้ 
          และมีวิธีดำเนินการใน
การสร้างความรอบรู้ ที่ลึกล้ำ ตลอดจนต้องมีกลยุทธ์ใน การจัดการกับคน

          ทุก ๆ ระดับ ทั้งผู้จัดการ หัวหน้าหน่วยงาน และคนทำงาน หนึ่งในคำกล่าวจากหนังสือ
         
องค์กรชั้นยอด การจัดการคน + ความรู้
โดยเนื้อหาหลักจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ 
          ส่วนที่ 1 อะไรคือกลยุทธ์ของคุณในการจัดการความรู้ ซึ่งการพัฒนาองค์กรให้คงไว้ซึ่งศักยภาพ
          และความสามารถในการแข่งขันระยะยาวได้อย่างยั่งยืนด้วยการเน้นการจัดการความรู้ด้วยกลยุทธ์
          แบบคนต่อคน (
Personalization) และกลยุทธ์แบบจัดให้เป็นระบบ (Codification)
ส่วนที่ 2
          วิธีสร้างความรอบรู้ที่ลึกล้ำ ด้วยเทคนิคที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติภายใต้การชี้แนะ
          การสังเกตภายใต้การชี้แนะ การแก้ปัญหาภายใต้การชี้แนะ และการทดลองภายใต้การชี้แนะ
          สำหรับส่วนที่ 3 ผู้บริหารแบบตัว
T
การจัดการความรู้สำหรับผู้ที่จะอยู่รอด โดยบทบาทของผู้บริหาร
          และผู้นำในลักษณะของตัว
T นี้ จะทำให้ทุกความรู้อยู่คู่กับองค์กรตลอดไป 

          ปล. ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://bookstore.manager.co.th

Read Full Post »

         
          การสร้างกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ 
        ข้อมูลทางบรรณานุกรม:
          Morten T. Hansen, Nitin Nohria, Thomas Tierney, Keith Cerny and Stewen E. Prokesch. 
                   2547. การสร้างกลยุทธ์ในการจัดการความรู้.  กรุเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

                   การจัดการความรู้ เป็นหัวใจสำคัญของทุกองค์กร การเริ่มต้นที่ไม่ถูกต้องด้วยกลยุทธ์
          ที่ผิดพลาด จะทำให้เสียทั้งเงิน แรงงาน เวลา และโอกาสอย่างที่ไม่ควรจะเป็น
การจัดการความรู้
          เป็นระบบที่ทุก ๆ องค์กรต้องมี และเป็นกลยุทธ์ที่ทุกองค์กรต้องดำเนินให้ถูกทิศทาง
การจัดการความรู้

          ไม่ใช่เครื่องมือทางการบริหารที่หวือหวาฟู่ฟ่าตามกระแสนิยม แต่มันจะอยู่กับทุกองค์กรตลอดไป
          และไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลหรือเทคโนโลยีที่สูง ๆ แต่อย่างใด
                 
                   “การสร้างกลยุทธ์ในการจัดการความรู้ นำเสนอสาระสำคัญที่นำมาจาก 
          Harvard Business Review : OnPoint
โดยกล่าวถึงแนวคิดโดยสรุป การนำไปปฏิบัติ
          และสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ส่วนคือ
          ส่วนที่ 1 อะไรคือกลยุทธ์ของคุณในการจัดการความรู้ ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
          กับองค์กรอื่นคือ แนวทางการจัดให้เป็นระบบ (
Codification Approach)
 แต่ในทางตรงกันข้าม
          หากองค์กรนั้นต้องพึ่งพาบุคลากรเพื่อแบ่งปันความรู้และวิธีการในการสร้างนวัตกรรมหรือการผลิต
          ตามความต้องการจะต้องใช้กลยุทธ์แบบบุคคลสู่บุคคล (
Personalization Approach)

          สำหรับในส่วนที่ 2 การทำให้ความรู้เฉพาะที่พัฒนาไปสู่ความรู้ที่เปิดกว้าง โดยการแบ่งปันความรู้
          และข้อมูลกันภายในองค์กร และส่วนที่ 3 การปลดปล่อยพลังแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการยกระดับ
          การเรียนรู้ให้ทั่วทั้งองค์กร

          ปล. ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://www.chulabook.com

Read Full Post »

         
          ชุมชนแนวปฏิบัติการจัดการความรู้สายพันธุ์ใหม่

          ข้อมูลทางบรรณานุกรม :
          เอเตียน เวนเกอร์, ริชาร์ด แมคเดอร์ม็อท และ วิลเลี่ยม เอ็ม. ชไนเดอร์.  2548?. 
                 
ชุมชนแนวปฏิบัติการจัดการความรู้สายพันธุ์ใหม่.  กรุงเทพฯ: วิเลิร์น. 

                  การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นแนวคิดการบริหารที่กำลังได้รับความนิยม
          อย่างสูงในปัจจุบัน ในอดีตการจัดการความรู้มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นเครื่องมือ
          ในการเก็บรวบรวมและค้นหาข้อมูล แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยในการจัดการความรู้
          ให้ประสบความสำเร็จได้ จึงทำให้เกิดชุมชนแนวปฏิบัติ (
Communities of Practice : CoP)
ขึ้น
          ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชน โดยมีแรงปรารถนาร่วมกันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวพวกเขาไว้
          ภายใต้กรอบการจัดการความรู้ ซึ่งจะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสมาชิกชุมชนและองค์กร
             

                  ชุมชนแนวปฏิบัติจะทำหน้าที่ดูแลความรู้ด้วยแรงขับภายในจากความรู้สึกเป็นเจ้าของความรู้ 
          เนื่องจากเป็นสิ่งที่พวกเขาสนใจ เป็นผลให้การจัดการความรู้สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง
          โดยไม่ต้องอาศัยแรงผลักดันหรือการบังคับจากองค์การ นอกจากนี้ การรวมตัวกันเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ
          ยังได้ก่อให้เกิดความไว้วางใจและความสนิทสนม ซึ่งไม่มีอยู่ในโครงสร้างการจัดการความรู้แบบอื่น ๆ
 

                   หนังสือ ชุมชนแนวปฏิบัติการจัดการจัดการความรู้สายพันธุ์ใหม่ ประกอบไปด้วยสาระมากมาย
          อาทิเช่น คุณค่าและองค์ประกอบเชิงโครงสร้างของชุมชนแนวปฏิบัติ หลัก 7 ประการในการดูแล
          ชุมชนแนวปฏิบัติ พัฒนาการระยะเริ่มต้นจนถึงระยะเติบโตของชุมชนแนวปฏิบัติ ความท้าทายของ
          ชุมชนกระจายตัว ด้านมืดของชุมชนแนวปฏิบัติ การวัดผลและการจัดการสร้างคุณค่าของชุมชนแนวปฏิบัติ
          เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำในองค์การจะสามารถใช้เป็นคู่มือสำหรับพัฒนาชุมชนแนวปฏิบัติ
          ซึ่งจะเอื้อประโยชน์และส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาวขององค์การ รวมทั้งพนักงานที่ทำงาน
          ในองค์การนั้นด้วย 

          ปล. ภาพประกอบจากเว็บไซต์ สคส. http://www.kmi.or.th/

Read Full Post »

Older Posts »